หลังจากที่ทาง Canon ได้ปล่อยกล้อง DSLR ระดับกึ่งโปรรุ่น EOS 70D ไปในปี 2013 หลังจากนั้นก็เว้นระยะห่างมาเกือบ 3 ปี จึงได้ฤกษ์เปิดตัวกล้องระดับกึ่งโปรรุ่นล่าสุด EOS 80D ที่เราได้รับมาทำการรีวิวในครั้งนี้ เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า Canon ไม่ได้ออกกล้องรุ่นใหม่พร่ำเพรื่อ และถ้ามีรุ่นใหม่ออกมา ย่อมต้องมีพัฒนาการที่เด่นชัดขึ้นจากรุ่นก่อนหน้าอย่างแน่นอน ซึ่งหมัดเด็ดไม้ตายที่ EOS 80D เตรียมไว้มัดใจมืออาชีพที่ต้องการขยับกล้องของตนให้ดีขึ้นอีกระดับก็มี อาทิ ระบบโฟกัสแบบ Cross Type 45 จุด ที่โฟกัสได้อย่างรวดเร็วในสภาพแสงที่หลากหลาย มีช่องเสียบหูฟังทำให้รองรับงานถ่ายวิดีโอได้อย่างจริงจัง ความละเอียดภาพที่เพิ่มมากขึ้น และช่องมองภาพที่ใหญ่เต็มตา มองเห็นเฟรมภาพครบ 100% ทำให้จัดองค์ประภาพได้สมบูรณ์แบบกว่าเดิม โดยทาง Canon วางตำแหน่ง EOS 80D ให้เป็นกล้อง DSLR สำหรับตากล้องฟรีแลนซ์ที่รับงานถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ รวมถึงโปรดักซ์ชั่นเฮ้าส์ขนาดเล็กที่ต้องการงานระดับคุณภาพ ในราคากล้องที่ไม่แพงเกินเอื้อม
คุณสมบัติของกล้อง CANON EOS 80D
- ประเภทกล้อง Semi-Pro DSLR
- ความละเอียดภาพ 24.2 ล้านพิกเซล
- ชนิดของเซ็นเซอร์ CMOS
- ขนาดของเซ็นเซอร์ APS-C (22.5 x 15.0 มิลลิเมตร)
- การตั้งค่า ISO ที่รองรับ Auto, 100 - 16000 (ขยายได้ถึง 25,600)
- เลนส์เม้าท์ Canon EF
- ตัวคูณระยะเลนส์ 1.6X
- แฟลชหัวกล้อง Guide Number 12m ที่ ISO 100
- รองรับแฟลชเสริมตระกูล Speedlite ระบบวัดแสงแบบ E-TTL II
- ขนาดจอ LCD 3 นิ้ว ความละเอียด 1,040,000 จุด รองรับระบบสัมผัส
- ชัตเตอร์สปีด 1/8000 - 30 วินาที (รองรับ Shutter Bulb)
- รูปแบบไฟล์วีดิโอ MOV/MP4 (H.264)
- รองรับการ์ดความจำ SD/SDHC/SDXC สูงสุด 2TB
- เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่าน Wi-F/NFC
- น้ำหนักกล้อง+แบตเตอรี่ 730 กรัม
- ขนาดตัวกล้อง 139 x 105.2 x 78.5 มิลลิเมตร
(ข้อมูลจาก https://www.usa.canon.com/internet/portal/us/home/products/details/cameras/dslr/eos-80d)
คลิปวีดีโอ รีวิว CANON EOS 80D กล้อง DSLR ระดับกึ่งโปร ที่รองรับการใช้งานในระดับมืออาชีพ
เรือนร่าง Canon EOS 80D
ดีไซน์ของ EOS 80D ดูบึกบึนตามสไตล์กล้อง DSLR ระดับกึ่งโปรจากค่าย Canon แต่ก็ได้มีการปรับขนาดตัวกล้องให้เล็กและเบากว่ากล้องรุ่นก่อนอย่าง 70D อยู่เล็กน้อย และบอดี้กล้องผลิตจากวัสดุพลาสติก Poly ที่ดูแข็งแรงดี มิติตัวกล้องใหญ่จับกระชับมือ บนตัวกล้องก็มีปุ่มปรับตั้งค่าการถ่ายให้ใช้งานได้เยอะตามสไตล์กล้องสำหรับมืออาชีพ เป็นข้อดีให้เซ็ตค่ากล้องได้ไว แต่สำหรับมือใหม่อาจจะงงกับปุ่มจำนวนเยอะๆ ในระยะแรก ว่าปุ่มไหนใช้ทำอะไร แต่ถ้าได้ลองหัดเล่นหัดถ่ายไปเรื่อยๆ ก็จะชินกับกล้องในที่สุดครับ
กล้องที่เราได้รับมาทดสอบ มาพร้อมกับเลนส์คิทรุ่นล่าสุด EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อการถ่ายวิดีโอด้วยระบบซูมเงียบไม่มีเสียงรบกวน ไม่ต้องกังวลว่าเวลาใช้ถ่ายวิดีโอจะเจอเสียงออโต้โฟกัสเข้ากล้องตอนถ่ายแน่นอน และยังโฟกัสได้รวดเร็วดีมากๆ แถมยังเป็นเลนส์คิทที่ให้ระยะซูมเอนกประสงค์ ใช้ตัวเดียวเที่ยวทั่วโลกได้สบายๆ
เรามาดูส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องรุ่นนี้กันครับ
- ปุ่มชัตเตอร์
- ปุ่มเลือกโหมดการโฟกัส (1 จุด, โซนเล็ก, โซนใหญ่, เลือกอัตโนมัติ 45 จุด)
- ลูกบิดปรับค่าสปีดชัตเตอร์ในโหมด M
- จอ LCD ขาวดำ ตรวจสอบค่าการถ่ายภาพต่างๆ
- ปุ่มเลือกโหมดออโต้โฟกัส (ONE SHOT, AI FOCUS, AI SERVO)
- ปุ่มเลือกโหมดการถ่ายภาพนิ่ง (ภาพเดียว, ถ่ายต่อเนื่องความเร็วสูง 7 ภาพ/วินาที, ถ่ายต่อเนื่องความเร็วต่ำ, ถ่ายภาพเดียวแบบชัตเตอร์เสียงเบา, ถ่ายภาพต่อเนื่องแบบชัตเตอร์เสียงเบา, ตั้งเวลาถ่ายภาพ 10 วินาที, ตั้งเวลาถ่ายภาพ 2 วินาที)
- ปุ่มปรับ ISO (Auto, 100 - 16000)
- ปุ่มเลือกโหมดการวัดแสง (Evaluative, Partial, เฉพาะจุด, เฉลี่ยหนักกลาง)
จอ LCD มีปุ่มเปิดไฟ Backlite สีส้ม ทำให้ตรวจสอบค่าการถ่ายภาพจากจอ LCD ขาวดำได้ดีในสภาพแสงน้อย
ขอบข้างของปุ่มลูกบิดเลือกโหมดการถ่ายภาพ ได้มีการหุ้มยางเอาไว้เพื่อความถนัดในการบิดหมุน ให้ความรู้สึกที่หรูหราดีทีเดียว
- ปุ่มปลดล๊อกลูกบิดอยู่ตรงกลาง ช่วยป้องกันไม่ให้ปุ่มบิดหมุนเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
- โหมดการถ่าย M
- โหมดการถ่าย AV (Aperture-priority AE)
- โหมดการถ่าย Tv (Shutter-priority AE)
- โหมดการถ่าย P (Program AE)
- โหมดการถ่าย Scene Intelligent Auto กล้องจะปรับตั้งค่าการถ่ายให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เหมาะสำหรับตากล้องมือใหม่
- โหมดการถ่ายแบบไม่ใช้แสงแฟลช
- โหมดการถ่าย Creative Auto เปิดโอกาสให้ตากล้องมือใหม่ได้ภาพถ่ายโทนสีสวยๆ แบบจบหลังกลัอง ไม่ต้องใช้โปรแกรมแต่งภาพ อาทิ การถ่ายแบบโทนสีสดใส (Vivid), โทนภาพนุ่มนวล (Soft), ภาพโทนสีอุ่น (Warm), ภาพโทนสีเย็น (Cool) และภาพถ่ายขาวดำ (Monochrome) เป็นต้น
- โหมดการถ่าย Special scene ปรับค่าการถ่ายให้เหมาะกับแต่ละสถานการณ์โดยอัตโนมัติ อาทิ ถ่ายภาพอาหาร (Food), ถ่ายเด็ก (Kids), ถ่ายคน (Portrait) ถ่ายคนตอนกลางคืน (Night Portrait) และ ถ่ายวิวทิวทัศน์ (Landscape) เป็นต้น
- โหมดการถ่ายแบบ Creative Filters ใส่เอฟเฟกต์ภาพสวยๆ แบบจบหลังกล้อง ไม่ต้องง้อ Photoshop
- โหมดการถ่าย Custom Shooting 1 มืออาชีพสามารถบันทึกค่าการถ่ายที่ใช้งานบ่อยๆ เพื่อเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- โหมดการถ่าย Custom Shooting 2 มืออาชีพสามารถบันทึกค่าการถ่ายที่ใช้งานบ่อยๆ เพื่อเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- โหมดการถ่าย Bulb เปิดหน้ากล้องรับแสงได้นานเท่าที่ต้องการ เหมาะสำหรับการถ่ายพลุ หรือแสงไฟยามค่ำคืน
- ช่องมองภาพแจ่มมาก ขนาดใหญ่ดูสบายตา แถมยังเห็นเฟรมภาพครบ 100% ทำให้จัดองค์ประกอบภาพได้ง่าย ไม่ต้องยุ่งยากกับการเล็งถ่ายแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดอีกต่อไป
- ลูกบิดเลือกโหมดระหว่างการถ่ายภาพนิ่ง หรือวิดีโอ ส่วนปุ่ม START/STOP ใช้สั่งเริ่มต้น/หยุด การถ่ายวิดีโอ
- ปุ่ม AF-ON สั่งให้กล้องหาโฟกัส คล้ายกับการกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งทาง
- ปุ่ม AE-lock สั่งล็อกค่าการวัดแสง / หรือการสั่งซูมออกในขณะเปิดดูภาพถ่าย
- ปุ่ม AF point เลือกจุดการโฟกัสภาพ / หรือการสั่งซูมเข้าในขณะเปิดดูภาพถ่าย
- ปุ่ม Quick Control เรียกหน้าจอปรับตั้งค่าการถ่ายอย่างรวดเร็วผ่านหน้าจอสัมผส อาทิ การปรับตั้งค่า White balance, ปรับขนาดไฟล์ภาพ, Picture Style หรือเปิด/ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi เป็นต้น
- ปุ่ม Playback เปิดดูภาพถ่าย/คลิปวิดีโอ
- ลูกบิดปรับค่า F หรือปรับค่าการชดเชยแสง
- ปุ่ม SET และปุ่ม 4 ทิศทาง ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ ของกล้อง
- คันโยกล็อก ป้อนกันลูกบิดปรับค่า F หมุนเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ปุ่มลบไฟล์ภาพหรือคลิปวิดีโอ
- ปุ่ม INFO ปรับรูปแบบการแสดงผลบนจอ LCD ขณะที่เล็งถ่ายแบบ Live view ผ่านจอ LCD
- ปุ่ม MENU เข้าหน้าจอปรับแต่งการทำงานของตัวกล้อง
- คันโยก ON/OFF เปิด/ปิดกล้อง
อีกจุดที่ชอบ EOS 80D คือคุณภาพของจอ LCD ที่ให้ภาพสว่าง การแสดงผลละเอียดคมชัด สามารถใช้เล็งถ่ายแบบ Live view ในสภาพกลางแจ้งที่มีแดดได้ดีเลย ตอบโจทย์ตากล้องที่ไม่ชอบเล็งถ่ายผ่านช่องมองภาพ และยังใช้ตรวจสอบภาพ หรือเช็คภาพชัดภาพเบลอได้ดี ทำให้ถ่ายซ่อมได้ทัน
อีกหนึ่งข้อดีของกล้อง DSLR ระดับกึ่งโปรอย่าง EOS 80D คือนอกจากจะรองรับการติดตั้งแฟลชตระกูล Speedlite แล้ว ก็ยังมีแฟลชหัวกล้องทีมีค่า Guide Number 12m มาให้ ทำให้ตากล้องเอาตัวรอดได้ในบางสถานการณ์ที่ตัวแฟลชแยกเกิดปัญหาแบตเตอรี่หมด หรือในวันที่ลืมเอาแฟลชแยกไป และตอบโจทย์ตากล้องระดับสมัครเล่นที่ไม่อยากติดแฟลชอันใหญ่ๆ ได้เป็นอย่างดี
กล้องที่เราได้รับมาทดสอบ มาพร้อมกับแบตเตอรี่รุ่น LP-E6N ขนาดความจุกระแส 1,865mAh และจากสเปกระบุว่า สามารถใช้กับแบตเตอรี่รุ่นเดียวกับของกล้องรุ่นก่อนหน้าอย่าง EOS 70D (LP-E6) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ทีมีความจุสูงกว่าได้ด้วย และกับการลองออกทริปถ่ายภาพด้วย EOS 80D กับแบตเตอรี่ LP-E6N แบบเน้นถ่ายภาพนิ่งผ่านช่องมองภาพเป็นหลัก และถ่ายคลิปวิดีโอบ้างนิดหน่อย มีเปิดเช็คภาพ ลบภาพเป็นช่วงๆ ก็ต้องต้องบอกว่าแบตอยู่ครบวันได้แบบสบายๆ ครับ
อีกหนึ่งฟีเจอร์เด็ดของ Canon EOS 80D คือนอกจากจะมีช่องเสียบไมค์นอกสำหรับการถ่ายทำวิดีโอแล้ว ก็ยังเพิ่มมีช่องเสียบหูฟังมาให้ด้วย ทำให้สามารถมอนิเตอร์เสียงขณะถ่ายวิดีโอได้เลย ว่าเสียงเข้าเทปหรือไม่ เสียงดังเสียงเบาขนาดไหน และยังใช้ฟังเสียงจากไฟล์วิดีโอถ่ายที่เก็บไว้ในกล้องได้ด้วย บอกเลยว่าเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับคนที่ต้องการใช้งานถ่ายวิดีโอแบบจริงจัง
จุดโฟกัส Cross Type 45 จุด และถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง 7 ภาพต่อวินาที
สิ่งที่ Canon EOS 80D ได้รับการยกเครื่องมาใหม่ คือ เรื่องของจุดโฟกัสเพื่อการเล็งถ่ายผ่านช่องมองภาพ ที่มีจุดโฟกัสให้เลือกใช้ถึง 45 จุด และเป็นจุดโฟกัสแบบ Cross-type ทั้งหมด (EOS 70D มีจุดโฟกัส Cross-type 19 จุด) ด้วยความที่มีจุดโฟกัสแบบ Cross-type กระจายอยู่ทั่วจุดที่ต้องการของเฟรมภาพ และเมื่อมาจับคู่กับเลนส์ที่เราได้รับมาทดสอบอย่าง EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ทำให้กล้องหาโฟกัสได้รวดเร็วดีมากๆ แม้แต่กับการถ่ายภาพตอนกลางคืน หรือการถ่ายในสภาพแสงน้อย เรียกว่าโฟกัสเข้าในแทบจะทันทีที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งทาง ทำให้ไม่พลาดการเก็บภาพในช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหัน
และเมื่อระบบโฟกัสแบบ Cross-type 45 จุด ทำงานร่วมกับระบบการเลือกใช้โซนโฟกัสที่ยืดหยุ่น (จุดเดียว, โซนเล็ก, โซนใหญ่, เลือกจุดอัตโนมัติทั่วภาพ) บวกกับระบบการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง 7 ภาพต่อวินาที เมื่อเล็งถ่ายผ่านช่องมองภาพ (แต่ถ้าถ่ายผ่าน Live view จะเหลือ 5 ภาพต่อวินาที) หากเราต่อเลนส์เข้ากับ Extender ที่ได้ค่า f/8 ระบบออโต้โฟกัสยังทำงานได้ถึง 27 จุด เป็น Cross-type 9 จุด ซึ่งดีขึ้นจาก EOS 70D ที่โฟกัสได้จุดกลางเพียงจุดเดียว ทำให้ Canon EOS 80D เป็นกล้องที่ถ่ายภาพกีฬา หรือภาพแอคชั่นชีวิตสัตว์ป่าได้ดีเลย
จัดการ Noise ได้เยี่ยมขึ้นอีก
อีกหนึ่งพื้นที่ที่ Canon เคลมว่า EOS 80D ทำได้ดีขึ้น คือเรื่องของการจัดการเม็ดสีรบกวน (Noise) ทำให้ตากล้องสามารถใช้ค่า ISO สูงๆ ได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่าภาพจะเสีย ไหนๆ เราก็มี EOS 70D อยู่ในมือ เราเลยลองมาถ่ายรูปเทียบกันหน่อยดีกว่า
จากตัวอย่างภาพเปรียบเทียบ ก็เห็นได้ชัดเจนครับว่า 80D จัดการกับเม็ดสีรบกวนในภาพได้ดีกว่า 70D จริงๆ และจากความคิดเห็นส่วนตัวต้องบอกว่าที่ ISO 6400 เม็ดสีรบกวนในภาพยังอยู่ที่ระดับพอยอมรับได้ครับ
Canon EOS 80D f6.3 1/80Sec. ISO 3200 เลนส์ EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano)
ภาพนี้ลองถ่ายในสภาพแสงน้อยโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง อาศัยทำมือให้นิ่งที่สุด ซูมถ่ายจากระยะไกล แล้วดัน ISO สูงๆ เพื่อช่วยไม่ให้ภาพสั่นเบลอ ด้วยกล้องตัวนี้ทำให้แม้จะไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ก็ยังได้ภาพถ่ายสวยๆ ตอนกลางคืนนะ
Canon EOS 80D f5.6 1/60Sec. ISO 5000 เลนส์ EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano)
เป็นอีกหนึ่งภาพที่ลองเล่นเรื่องความสามารถในการจัดการ Noise ภาพนี้ถ่ายดอกเฟื่องฟ้าตอนกลางคืน เห็นฉากหลังเป็นแสงไฟส่องทางสวยๆ โดยที่ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ภาพนี้ดัน ISO ถึง 5000 แต่เนื้อสีของภาพยังดูสวยอยู่เลย
มี Wi-Fi/NFC ให้โอนภาพไปสมาร์ทโฟนได้ง่ายๆ เลย
ตามแบบฉบับกล้องรุ่นใหม่ที่มักจะโอนภาพถ่ายสวยๆ ไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อแชร์ลงโซเชียลได้ทันที และถึงแม้ Canon EOS 80D จะเป็นกล้องระดับกึ่งโปรที่ดูจริงจังกับการถ่ายภาพ แต่ก็ไม่พลาดที่จะใส่ฟีเจอร์ในรูปแบบนี้มาให้ด้วย ซึ่งดูไปแล้วก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับตากล้องรับงาน ที่พอถ่ายรูปแล้ว ก็ส่งภาพมาที่สมาร์ทโฟนเพื่อส่งตัวอย่างภาพผ่าน Line ไปให้ผู้ว่าจ้างได้ทันที
โดยความพิเศษคือนอกจากจะเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi ได้แล้ว ก็ยังมี NFC เพิ่มเข้ามา เพื่ออำนวยความสะดวกในการที่เอาสมาร์ทโฟนเข้ามาแตะที่ด้านซ้ายของกล้อง (ตรงที่มีโลโก้ NFC กำกับอยู่) จากนั้นสมาร์ทโฟนก็จะทำการเปิดแอพ Camera Connect แล้วเชื่อต่อกับกล้อง EOS 80D โดยอัตโนมัติ สามารถทำการส่งภาพถ่ายมายังสามาร์ทโฟนได้ทันที หรือจะใช้สมาร์ทโฟนเป็นรีโมทชัตเตอร์ เพื่อสั่งให้กล้องถ่ายภาพจากระยะไกลก็ยังได้ และแอพ Camera Connect ที่ใช้เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับกล้อง ก็มีทั้งสำหรับ iPhone และแอนดรอยด์ครับ
จากตัวอย่างหน้าจอการใช้งานของแอพ Camera Connect เราสามารถใช้สมาร์ทโฟนเรียกดูรายการภาพและคลิปวิดีโอทั้งหมดที่อยู่ในกล้อง (ภาพซ้าย) และเลือกภาพที่ต้องการเพื่อส่งมายังสมาร์ทโฟนได้เลย (ภาพกลาง) และส่วนในภาพขวานั้น เป็นฟังก์ชั่นรีโมทชัตเตอร์ ใช้สมาร์ทโฟนควบคุมกล้องจากระยะไกล บนหน้าจอจะมี Live view ให้จัดองค์ประกอบภาพและเลือกจุดโฟกัส และมีปุ่มชัตเตอร์ให้กดถ่ายภาพจากหน้าจอได้เลย
คลิกที่ปุ่มนี้เพื่อดาวน์โหลดแอพ Canon Camera Connect ได้เลยครับ
ถ่ายภาพ ถ่ายคลิปสวยๆ แบบไม่ต้องง้อโปรแกรมตกแต่งภาพด้วยโหมด Creative filter
อีกสิ่งที่ Canon ภูมิใจนำเสนอใน EOS 80D คือโหมดการถ่ายแบบใส่เอฟเฟกต์โทนสีสวยๆ คล้ายอินสตาแกรมแบบจบหลังกล้อง ไม่ต้องง้อโปรแกรมแตกแต่งภาพในคอมฯ ซึ่งโหมดนี้น่าจะเหมาะกับตากล้องที่ต้องการโทนภาพสวยๆ แปลกใหม่ เพื่อการนำไปแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ซึ่งการถ่ายภาพนิ่งก็มีฟิลเตอร์ให้เลือกใช้งานถึง 10 แบบ ได้แก่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น